นักวิจัยสหรัฐฯ ยืนยันว่าได้ก้าวผ่านอุปสรรคสำคัญ ในการสร้างพลังงานที่มากขึ้นได้สำเร็จจากการทดลองปฏิกิริยาฟิวชัน แต่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าหนทางสู่การสร้างพลังงานจากปฏิกิริยาฟิวชันที่จะนำไปเป็นไฟฟ้าใช้ในครัวเรือนได้นั้นยังอีกห่างไกล
การทดลองของนักวิจัยสหรัฐฯ เกิดขึ้นที่ศูนย์จุดระเบิดแห่งชาติ (National Ignition Facility) ที่ห้องทดลองแห่งชาติลอว์เรนซ์ลิเวอร์มอร์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย หรือ แอลแอลเอ็นแอล
ดร. คิม บูดิล ผู้อำนวนการ แอลแอลเอ็นแอล ระบุว่า “นี่คือความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์… ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ผู้คนหลายพันคนทุ่มเทกับการทดลองนี้ ต้องใช้วิสัยทัศน์อย่างมาก กว่าที่เราจะมาถึงจุดนี้ได้”
การสร้างปฏิกิริยาฟิวชัน เป็นการใช้อะตอมคู่หนึ่งคือ อะตอมไฮโดรเจนที่ชื่อดิวทีเรียมและตริเตียม มาหลอมรวมกัน โดยสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทยระบุว่า เมื่อทำให้นิวเคลียร์ของดิวทีเรียม และตริเตียมหลอมรวมกันแล้ว จะเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แล้วแยกออกจากกัน กลายเป็นนิวตรอนกับนิวเคลียสของฮีเลียมซึ่งมี 2 โปรตอน กับ 2 นิวตรอน และให้พลังงานส่วนเกินจากปฏิกิริยาออกมา โดยส่วนใหญ่จะเป็นพลังงานจลน์ของนิวตรอนอิสระที่เกิดขึ้น เนื่องจากอนุภาคที่เกิดจากปฏิกิริยามีความเสถียรมากกว่า
ที่มา : bbc.com